วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ลูกทารกชอบยิ้มตอนหลับ


                          หลายครั้งที่เรามักจะได้ยินกันว่า ลูกยิ้มตอนหลับแปลว่าลูกกำลังฝันอยู่ หรือลูกยิ้มตอนหลับแปลว่าลูกกำลังเล่นกับแม่ซื้อ ซึ่งความเชื่อดังกล่าวอาจทำให้คุณแม่หลายคนกังวลใจ แล้วความจริงเป็นอย่างไรมาดูคำตอบกัน


ทำไมลูกทารกชอบยิ้มตอนหลับ

·         เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า การยิ้มระหว่างหลับของทารกในช่วง 0 - 1 เดือนแรกหลังคลอด ไม่ได้มาจากการฝันนะคะ แต่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า เพราะทารกยังไม่สามารถแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกได้

·         พัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้า ในช่วง 2 - 5 เดือน ขณะหลับทารกจะมีอาการทางสีหน้าหลายอย่าง เช่น สีหน้าบึ้งตึง ขมวดคิ้ว ทำปากขมุบขมิบ และยิ้ม อาการเหล่านี้ไม่ได้บ่งบอกว่าทารกกำลังฝันหรือกำลังเล่นกับแม่ซื้ออยู่ แต่คือพัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้าของทารกเท่านั้น

·         ลูกกำลังฝัน ช่วง เดือนขึ้นไป ทารกจะเริ่มฝันแล้ว เนื่องจากทารกวัยนี้มองเห็นได้อย่างเต็มที่ จึงเกิดการเก็บไปฝัน ซึ่งการฝันของทารกวัย เดือน จะยังไม่เป็นเรื่องเป็นราวเหมือนผู้ใหญ่ แต่จะเป็นภาพสไลด์แบบไม่ต่อเนื่อง และทารกจะยังไม่เข้าใจว่านี่คือความฝัน

                     ลูกชอบยิ้มตอนหลับไม่ใช่เพราะลูกกำลังเล่นกับแม่ซื้อตามความเชื่อที่เราเคยได้ยินนะคะ แต่เกิดจากพัฒนาการกล้ามเนื้อใบหน้าตามที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ พัฒนาการต่างๆ จะส่งผลให้ลูกเป็นเด็กฉลาดในอนาคตแน่นอนค่ะ
ขอได้รับความขอบคุณจาก....ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน ฟุทเด็ก ให้ลูกคุณสาย เก๋ เท่กว่าใคร

ขายปลีก ส่ง รองเท้าเด็กอ่อน เด็กแรกเกิด เด็กทารก
ขายปลีก => http://www.footdek.com/
ขายส่ง =>http://footdek.lnwshop.com/
Face book =>https://www.facebook.com/FootDek/
IG =>https://www.instagram.com/footdek/
Line =>@footdek(ใส่@นำหน้าด้วย)


วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การตั้งไข่ของเด็ก...เด็กกำลังหัดเดิน

การตั้งไข่ของเด็ก


การตั้งไข่
              คือ การที่เด็กเริ่มทำท่าโก้งโค้งยืดตัวขึ้นยืน และเมื่อทำได้สักพักเขาก็จะเข้าไปหาที่เกาะยืนต่อไป เพราะยังยืนเองตามลำพังไมได้ พัฒนาการดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงวัน 9 – 11 เดือนค่ะ
การที่เด็กได้ลองทำการยืนด้วยตนเอง จะทำให้เขาได้เรียนรู้และลองแล้วลองอีก อีกหลายครั้ง กว่าจะรู้วิธีการที่จะขึ้นมาจากท่านั่ง เป็นเกาะยืน และเริ่มตั้งไข่ ซึ่งจะเป็นการเตรียมพร้อมในการเดินที่จะตามมาในไม่ช้าไม่นาน

การตั้งไข่ด้วยตัวเอง
            ทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าพื้นหรือเฟอร์นิเจอร์แบบไหน ที่จะรองรับน้ำหนักเขาได้ และเขาจะเรียนรู้การหย่อนตัวนั่ง ซึ่งคุณแม่สามารถช่วยลูกหัดหย่อนก้นลงนั่ง จากท่ายืนโดยการก้มตัวลง (งอส่วนลำตัวด้านบน กับสะโพก) โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย และวางน้ำหนักไปทางก้น เพื่อที่จะได้นั่งลงได้ โดยไม่หงายหลัง หรือเจ็บตัว และการได้เห็นพ่อแม่หรือคนใกล้ตัวเดินไปไหนมาไหนนั้นเป็นเหมือนแรงขับภายในที่ทำให้เขาพยายามจะก้าวผ่านพัฒนาการจากการคลานไปสู่การยืนและเดินได้ต่อไปนั่นเอง

พ่อแม่ให้กำลังใจด้วยการส่งเสริมพัฒนาการตามนี้
                     สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมลูกได้คือ ให้กำลังใจลูกอย่างสม่ำเสมอ จัดพื้นที่ให้ปลอดภัยสำหรับลูก เฟอร์นิเจอร์เครื่องเรือนควรมั่นคงสำหรับการเกาะยืนของลูก ปิดเหลี่ยมมุมต่างๆ ให้ดี และคอยดูแลลูกอยู่ใกล้ๆ เพราะมีงานวิจัยในประเทศสิงคโปร์ที่ชี้ชัดว่า ร้อยละ 90 ของเด็กในช่วงวัยตั้งไข่และก้าวเดินนั้นจะได้รับบาดเจ็บ ตั้งแต่บาดเจ็บเล็กน้อยถึงเสียชีวิตได้ คุณแม่จึงต้องคอยอยู่เป็นกำลังใจและระมัดระวังอยู่ใกล้ๆ 

ขอได้รับความขอบคุณจาก....ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน ฟุทเด็ก ให้ลูกคุณสาย เก๋ เท่กว่าใคร

ขายปลีก ส่ง รองเท้าเด็กอ่อน เด็กแรกเกิด เด็กทารก
ขายปลีก => http://www.footdek.com/
ขายส่ง =>http://footdek.lnwshop.com/
Face book =>https://www.facebook.com/FootDek/
IG =>https://www.instagram.com/footdek/
Line =>@footdek(ใส่@นำหน้าด้วย)

วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พัฒนาการ...ก้าวแรกของลูก


พัฒนาการ...ก้าวแรกของลูก

คุณพ่อคุณแม่มาสำรวจพัฒนาการทางร่างกายของเจ้าตัวน้อยขวบปีแรกดูว่าในแต่ละช่วงเวลาควรตั้งตารออะไร เพื่อไม่ให้คุณพลาด “ก้าวแรก” ในชีวิตของลูก

วัย... แรกเกิด-2 เดือน
 เจ้าตัวน้อย เมื่อจับอุ้มในท่ายืนบนพื้นผิวเรียบ ลูกจะขยับขาเหมือนว่ากำลังเดิน ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองนี้จะหายไปเมื่อลูกอายุประมาณ 6 สัปดาห์

วัย... 3-4 เดือน
 เมื่อจับนอนคว่ำ ลูกจะทำท่าเหมือนกำลังวิดพื้นคือยกศีรษะ และหน้าอกขึ้นจากพื้นโดยใช้แขนพยุงตัว ซึ่งท่านี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อส่วนบนลำตัวของลูกน้อยแข็งแรง และพร้อมไปสู่การเดินต่อไป

วัย... 5 เดือน
 เมื่อจับอุ้มในท่ายืน ลูกจะเด้งตัวเหมือนกระโดด ซึ่งถือเป็นการสร้างกำลังให้กับกล้ามเนื้อขา

วัย... 6-8 เดือน
 เป็นช่วงเวลาที่ลูกเริ่มหัดนั่ง ซึ่งการให้ลูกได้นั่งด้วยตัวเองจะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อคอของลูกให้แข็งแรง ทั้งยังฝึกการควบคุมศีรษะ การทรงตัวและการทำงานประสานกันของส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งจะนำไปสู่ก้าวแรกของลูกในอีกไม่ช้า ในระหว่าง 6-10 เดือน ยังเป็นช่วงเวลาที่เจ้าตัวน้อยบางคนเริ่มคลาน ขณะที่หนูน้อยบางรายข้ามพัฒนาการขั้นนี้ไปสู่การเกาะยืนเลย

วัย... 8 เดือน
 สามารถเกาะยืนได้เอง 2-3 สัปดาห์ หลังจากนั้น เจ้าตัวเล็กจะเริ่มเกาะเดิน


วัย... 9-10 เดือน
สามารถดึงตัวเองให้ยืนขึ้นได้ด้วยการจับสิ่งของที่มั่นคง เช่น โซฟา ขาโต๊ะ ฯ เริ่มใช้การงอเข่าเพื่อช่วยให้นั่งลงได้อย่างนุ่มนวลขึ้น

วัย... 11-12 เดือน
 เริ่มตั้งไข่ ยืนได้ด้วยตัวเองประมาณ 2-3 วินาที และอาจเริ่มเดินได้หากมีคนช่วยจูงมือ



ขอได้รับความขอบคุณจาก....ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน ฟุทเด็ก ให้ลูกคุณสาย เก๋ เท่กว่าใคร

ขายปลีก ส่ง รองเท้าเด็กอ่อน เด็กแรกเกิด เด็กทารก
ขายปลีก => http://www.footdek.com/
ขายส่ง =>http://footdek.lnwshop.com/
Face book =>https://www.facebook.com/FootDek/
IG =>https://www.instagram.com/footdek/
Line =>@footdek(ใส่@นำหน้าด้วย)

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิด

การกระตุ้น พัฒนาการลูกน้อย วัยแรกเกิด


ฉลาดเรียนรู้
สิ่งเร้า สร้างลูกน้อยฉลาดเรียนรู้
     ในช่วง 1,365 วันแรกของเด็ก คือตั้งแต่อยู่ในครรภ์จน 3 ขวบแรก  สมองมีการพัฒนาสูงสุดถึง 80 % คุณแม่มือใหม่สามารถใช้ช่วงเวลานี้ สร้างพัฒนาการลูกน้อยให้มีความฉลาดรอบด้านได้  เมื่อลูกคลอดออกมาสมองของเขาก็เริ่มทำงาน สิ่งสำคัญสำหรับเด็กแรกเกิดคือ เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  นั่นคือ ตาดู หูฟัง ลิ้นรับรส จมูกดมกลิ่น และผิวรับสัมผัส  คุณพ่อคุณแม่บางคนเข้าใจผิดว่า เด็กเล็กๆ ที่เอาแต่กินและนอนนั้น คงยังไม่เรียนรู้อะไร จึงไม่ได้ให้สิ่งเร้า ซึ่งคือเสียง ภาพ สัมผัสกับเด็ก เมื่อขาดสิ่งเร้าทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วการเรียนรู้ของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิตหากมีสิ่งกระตุ้นที่ดี  
       เพราะฉะนั้น สำหรับลูกวัยแรกเกิด สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือไม่ปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ใช้สัมผัสทุกส่วนบ่อยๆ เช่น โอบกอดลูก เพื่อพัฒนาประสาทสัมผัส  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นสมอง สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มีการแตกแขนงอย่างมากมาย ทำให้เกิดการรับรู้ การตอบสนอง และการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใด หรือเร็วเท่าใด สมองจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่ได้รับ จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทสมองมากขึ้นนั่นเอง
ฉลาดเคลื่อนไหว
Check ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของทารกแรกเกิด
       พัฒนาการของลูกน้อยวัยแรกเกิดจะมีอย่างหนึ่งที่แสดงออกมาทางกายให้เห็น  นั่นคือ  ปฏิกิริยารีเฟล็กซ์หรือปฏิกิริยาสะท้อนกลับ  ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ทารกตอบสนองโดยอัตโนมัติ และบ่งบอกถึงพัฒนาการของการทำงานสมองและเส้นประสาทที่เป็นปกติ และจะค่อยๆ หายไปเมื่อทารกเติบโตขึ้น  ร่างกายของทารกหลังคลอดจะมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ครบถ้วนหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อนกลับของเด็ก
ลูกน้อยแรกเกิดมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับใดบ้าง คุณแม่ลองเช็คกันดูค่ะ
·         เมื่อได้ยินเสียงดังๆ หรือเมื่อวางลูกนอนลงอย่างกะทันหัน ลูกแสดงอาการตกใจ สะดุ้ง หรือผวา
·         เมื่อแม่เอานิ้วมือไปสัมผัสบริเวณฝ่ามือของลูก ลูกจะค่อยๆ กำมือเข้าหา  ถ้าดึงออก ลูกจะยิ่งกำแน่นขึ้น
·         เมื่อแตะมุมปาก ลูกจะเผยอปากพร้อมกับหันหานิ้วที่แตะ ทำท่าเตรียมดูดนม
·         เมื่อได้ยินเสียงดัง แสงจ้าเข้าตา หรือถูกอุ้มแบบกะทันหัน ลูกจะสะดุ้ง ร้องไห้ พร้อมๆ กับแอ่นหลัง แขนขา  กางออก แล้วหดกลับมางอตัวอย่างรวดเร็ว
·         เมื่อแตะสันจมูกหรือส่องไฟเข้าหน้า ทารกจะหลับตาแน่น
·         เมื่อแตะหลังมือหรือหลังเท้าลูก ทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้าจะกางออก
·         เมื่อแตะที่ฝ่าเท้าเบาๆ เข่าและเท้าทารกจะงอ
·         เมื่อทารกนอนเอียงศีรษะไปด้านหนึ่งพร้อมกับเหยียดแขนข้างเดียวกัน แขนอีกข้างจะงอขึ้นคล้ายท่ายิงธนู
       การไม่พบปฏิกิริยาสะท้อนกลับเหล่านี้  อาจหมายถึงสัญญาณผิดปกติของพัฒนาการลูกได้ เช่น หากได้ยินเสียงดังแล้วลูกยังนอนเฉย อาจมีปัญหาเรื่องการได้ยิน คุณแม่จึงต้องหมั่นสังเกตและตรวจสอบพัฒนาการของลูกค่ะ
ฉลาดสื่อสาร
ทดสอบการได้ยิน : จุดเริ่มต้นฉลาดสื่อสารของเด็ก
       การได้ยินเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ภาษา เมื่อเด็กได้ยินเสียงพูดของคนรอบข้าง เขาจะเลียนแบบเสียงที่ได้ยินนั้นและพัฒนาเป็นภาษาพูดต่อไป
       แม้ลูกในวัยแรกเกิด จะเอาแต่นอนเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เขาก็ได้ยินเสียงเสียงแล้ว เพียงแต่ยังหาต้นตอของเสียงไม่ได้  การตรวจสอบว่าลูกได้ยินเสียงหรือไม่จึงเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องทำ ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้โดยสังเกตว่า....
·         เมื่อได้ยินเสียงดังๆ ลูกจะสะดุ้งตื่น หรือร้องไห้ หรือไม่
·         เมื่อแอบสั่นกระดิ่งข้างหูเบาๆ ลูกทำท่ากรอกตาหรือมีการเคลื่อนไหวหรือไม่
       หากลูกไม่มีปฏิกิริยาใดๆ  คุณแม่ควรพาลูกไปเช็คให้ละเอียดค่ะว่าเขามีปัญหาการได้ยินหรือไม่ 
       หากลูกไม่มีปัญหาการได้ยิน คุณแม่ควรกระตุ้นการได้ยินของเขาตั้งแต่แบเบาะ  นั่นคือเมื่อเขาตื่นขึ้นมาก็ชวนเขาพูดคุย   ร้องเพลงกล่อม ลองหาของเล่นที่ส่งเสียงดังกรุ๋งกริ๋งให้ฟัง เป็นต้น จะช่วยให้ลูกทักษะการฟังที่ดี เมื่อเขาโตขึ้นมาก็ให้เขาได้ฟังเสียงที่หลากหลายต่อไปค่ะ
ฉลาดด้านอารมณ์
สัมผัสโอบกอด สร้างพื้นฐานความฉลาดทางอารมณ์ลูกน้อย
       ลูกวัยแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนสลับกับการตื่นมากินนมและเล่นเพียงช่วงสั้นๆ คุณแม่สามารถใช้เวลาช่วงที่ให้นมลูกสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้ลูกด้วยการสบตา ยิ้ม พูดคุย ร้องเพลง และเล่านิทานให้ลูกฟัง ลูบสัมผัสไปตามเนื้อตัวของลูก  เพราะการสัมผัสผิวกาย การกอดและการนวดตัวลูกเป็นอีกวิธีที่ทำให้ลูกรู้สึกสบาย อบอุ่นใจ มีความสุขและสร้างความผูกพันระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกน้อยด้วย รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ลูกได้ซึมซับความสงบจากธรรมชาติรอบตัว ก็จะช่วยให้ลูกอุ่นใจ มีสมาธิ ไม่ตื่นกลัวต่อสิ่งรอบข้างได้ง่าย
       ข้อมูลจากงานวิจัยพบว่า สารเอนดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุข เป็นสารที่มีคุณสมบัติในการเสริมพลังด้านบวก (Positive reinforcement) โดยปริมาณของสารเอนดอร์ฟินในพลาสมามีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสบาย รู้สึกมีความสุข สงบ  การมีสุขภาพและอารมณ์ดี เป็นต้น

       ความรักของคุณพ่อคุณแม่ที่สื่อไปถึงลูกน้อย ผ่านการสัมผัส โอบกอด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นสารแห่งความสุขให้หลั่งในสมองของลูก ก่อเกิดความสุขสงบภายใน และทำให้ลูกมั่นใจว่าเขาเป็นที่รัก ซึ่งส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ของเขาต่อไป


ขอได้รับความขอบคุณจาก....ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน ฟุทเด็ก ให้ลูกคุณสาย เก๋ เท่กว่าใคร

ขายปลีก ส่ง รองเท้าเด็กอ่อน เด็กแรกเกิด เด็กทารก
ขายปลีก => http://www.footdek.com/
ขายส่ง =>http://footdek.lnwshop.com/
Face book =>https://www.facebook.com/FootDek/
IG =>https://www.instagram.com/footdek/
Line =>@footdek(ใส่@นำหน้าด้วย)

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กิจกรรมพาสนกสำหรับทารกวัย 6 เดือน

รวบรวมเรื่องราว เคล็ดลับดีๆ สำหรับการเลี้ยวดูเจ้าตัวเล็กหลังคลอดมาฝากจ้า
หลังจากก่อนนี้ เขียนเรื่องราวเกียวกับรองเท้าเจ้าตัวเล็ก  ไว้แล้วบางส่วน และมีกระจายอยู่หลายที่ทั้ง 
เวปที่ weloveshopping   และบน facebook  วันนี้ก็เลยถือโอกาสเก็บรวบรวมมาไว้ในblog นี้ที่เดียวจะได้สะดวกต่อคุณแม่ทั้งหลาย มาเริ่มกันเลยค่ะ

กิจกรรมพาสนกสำหรับทารกวัย 6 เดือน


กิจกรรมที่ 1: ทารกขุนค้อนมาแล้ว 

อะไรกันเนี่ย ผ่านไปแป๊บเดียว จากทารกน้อยเอาแต่นอน บัดนี้เติบโตขึ้นมาจนรู้จักกำมือและขยับเหยียดแขน ทำเหมือนอุปกรณที่ใช้ตอกตะปซึ่งเรียกว่า "ค้อน" นั่นเอง เท่ากับว่าลูกน้อยกำลังพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อใหญ่แล้วล่ะค่ะ นับเป็นโอกาสดีที่คุณแม่จะสอนให้ลูกกำมือแล้วเหวี่ยงแขนออก ทำท่าเหมือนตอกนู่นตอกนี่ในอากาศ 



กิจกรรมที่ 2: ทำปูไต่กันเถอะ 

นิ้วมืออันเรียวงามของคุณแม่ก็สามารถเป็นอุปกรณ์ของเล่นสำหรับลูกได้เหมือนกันน๊า....เอาไว้จั๊กจี๋ลูกไงล่ะคะ แต่ไม่ได้จั๊กจี๋จนลูกหัวเราะงอหายอะไรขนาดนั้นนะคะ เพียงแต่เอามาทำปูไต่ตามตัวลูกเท่านั้นล่ะค่ะ 

ไต่นิ้วไปตามลำตัวของลูก ตามพุงน้อยๆ หรือตามแขน ขา อย่างแผ่วเบา พอให้ลูกได้เอิ๊กอ๊ากบันเทิงใจนิดหน่อย แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์อื่นบ้าง เพื่อให้ลูกได้สัมผัสวัสดุที่หลากหลาย ควรระวังไม่ใช้สิ่งของที่อาจทำให้ลูกแพ้ เช่น ขนนก คุณแม่ลองเปลี่ยนจากใช้นิ้วมือไต่ไปตามตัวลูก เป็น มุมขอบผ้าห่ม, พู่ที่หมวก, ปลายนิ้วของถุงมือ, หรือ มุมกระดาษทิชชู่ 
คอยสังเกตดูว่าลูกถูกใจมั้ย และอุปกรณ์ใดที่ทำให้ลูกหัวเราะอารมณ์ดีได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดเสียงหัวเราะประสานขึ้นพร้อมๆ กันทั้งคุณและลูกน้อย ลองชวนลูกใช้นิ้วมือจี้คุณแม่บ้าง ขณะที่คุณแม่ทำปูไต่ตามตัวลูก หวังว่าคงช่วยให้เกิดเสียงหัวเราะดังขึ้นในบ้านได้นะคะ 

กิจกรรมที่ 3: ช้อนตักมหัศจรรย์ 

ให้ลูกสุดที่รักนั่งหันหน้าเข้าหากะละมังใบเล็ก คุณแม่ใส่สำลีก้อนเล็กๆ หลายก้อนหน่อยลงในกะละมัง คุณแม่เอามือช้อนสำลีจากกะละมังขึ้นมาเล่น แล้วปล่อยลงไปใหม่ ทำอย่างนี้เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ลูก ให้ลูกลองทำตามดู จากนั้นค่อยส่งอุปกรณ์ตักสารพัดชนิดให้ลูก ควรส่งให้ทีละอย่างก่อน หากลูกยังเบบี๋มาก แต่ต้องนั่งเองได้แล้วนะคะ (ประมาณ 6 เดือนขึ้นไป) คุณแม่ช่วยประคองมือลูกถือทัพพีตักก้อนสำลีเล่น แล้วค่อยส่งอุปกรณ์อื่นให้ลองตักดู เช่น ช้อนชงกาแฟ, ทัพพีตักแกง, ถ้วยตวง ฯ 
นอกจากให้ลูกลองตักสำลีเป็นก้อนเล่นแล้ว คุณแม่สามารถเปลี่ยนสำลีเป็นเม็ดข้าวโพด, สปาเกตตี้ที่เป็นรูปทรงกะทัดรัด เช่น รูปหอย หรือโบว์ ก็ได้ , ตัวหมากฮอสก็ได้ หรือ ของดั้งเดิมคู่เด็กเล็กอย่างน้ำ 
อุปกรณ์ที่ต้องการ - อ๊ะ อย่าเพิ่งทำหน้ายุ่งยังงั้นสิคะ รายการนี้ไม่มีให้คุณแม่หาของยากมาเล่นกับลูกหรอกค่ะ ขึ้นชื่อว่าของง่ายๆ แค่หมุนไปหมุนมา รอบบ้านเดี๋ยวก็เจอคร่า....นั่นไง - ช้อนชงกาแฟยามเช้าของคุณพ่อ, ถ้วยตวงแป้งอเนกประสงค์ของคุณแม่, ทัพพีตักข้าวประจำบ้าน, พายไม้สำหรับผสมสลัด ฯ เหล่านี้นำมาเป็นอุปกรณ์ให้ลูกเล่นอย่างสร้างสรรค์ได้แน่นอน 


ขอได้รับความขอบคุณจาก....ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน ฟุทเด็ก ให้ลูกคุณสาย เก๋ เท่กว่าใคร

ขายปลีก ส่ง รองเท้าเด็กอ่อน เด็กแรกเกิด เด็กทารก
ขายปลีก => http://www.footdek.com/
ขายส่ง =>http://footdek.lnwshop.com/
Face book =>https://www.facebook.com/FootDek/
IG =>https://www.instagram.com/footdek/
Line =>@footdek(ใส่@นำหน้าด้วย)